การทำน้ำดิบให้เป็นน้ำประปา เนื่องจากน้ำดิบที่ได้จากแม่น้ำไม่เพียงพอแก่การทำน้ำประปา การประปานครหลวงจึงจำเป็นต้องสูบน้ำบาดาล ที่อยู่ในชั้นทะเลทรายลึกประมาณ๒๐๐ เมตร ในบริเวณกรุงเทพมหานครขึ้นมาใช้ น้ำที่ได้นี้เป็นน้ำบริสุทธิ์ ใสสะอาด ไม่มีเชื้อโรคหรือแร่ธาตุที่เป็นพิษต่อร่าง-กาย จึงมักส่งต่อเข้าท่อประปาโดยไม่ต้องผ่านถังตกตะกอน และถังกรองขั้นนี้เป็นการผ่านน้ำดิบให้เข้าไปยังถังที่มีชื่อว่า ถังตกตะกอน (clarifier) ภายในถังนี้ เขาฉีดน้ำยาที่มีสารส้ม เป็นส่วนผสมให้เข้ามาปนกับน้ำดิบในอัตราส่วนพอเหมาะ สารเคมีจำพวกสารส้มจะไปทำปฏิกิริยาแยกเอาตะกอนซึ่งทำให้น้ำขุ่นสกปรกออกเป็น ก้อนที่เรียกว่า ก้อนตะกอน (floc) น้ำกับก้อนตะกอนที่แยกออกมาแล้วจะไหลไปยังถังกรอง (filter) ในถังกรองมีชั้นทราย และกรวดรวมกันอยู่หลายชั้น เริ่มแต่ชั้นทรายขนาดกลาง และทรายหยาบ ต่อจากนั้นเป็นชั้นของกรวดเม็ดเล็ก เม็ดปานกลาง และเม็ดโต ทรายและกรวดจะช่วยกรองตะกอนน้ำที่ไหลผ่านชั้นของกรวดจะเป็นน้ำใส น้ำใสจะไหลจากบ่อกรองไปยังถังพักน้ำใส ซึ่งเป็นบ่อถังทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหลายๆถังต่อพ่วงกัน น้ำในตอนนี้จัดได้ว่าใสแลดูสะอาด แต่อาจจะมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายเจือปนอยู่ได้ ดังนั้น ก่อนที่จะสูบน้ำใสนี้ออกให้ประชาชนใช้ การประปาจะจัดการใส่ก๊าซคลอรีนหรือผงเคมีที่จะให้ก๊าซคลอรีน ในอัตราส่วนที่น้อยมากลงในน้ำใสเพื่อฆ่าเชื้อโรคดังกล่าว จากนี้ก็สามารถจะสูบน้ำออกจ่ายให้ประชาชนใช้บริโภคได้
ท่อน้ำประปาที่ออกจากโรงสูบน้ำของการประปา เป็นท่อขนาดใหญ่บางท่อมีเส้นผ่านศูนย์กลางโตถึง ๑ เมตร ท่อดังกล่าวนี้เขาฝังไว้ข้างถนนจมลึกจากระดับถนนประมาณ ๑ - ๒เมตร จากท่อใหญ่ก็มีท่อซอยซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงตามลำดับ ท่อดังกล่าวนี้จะแยกเข้าตามถนนสายเล็กลงมาเข้าตามซอย ตามตรอก
บางตำบลของกรุงเทพมหานครได้น้ำประปามาจากการดูดน้ำบาดาลที่อยู่ในชั้นของ ทรายซึ่งเก็บน้ำได้ปริมาณมาก ดังนั้นบ่อบาดาลที่ขุดลึก ๑๕๐ - ๒๐๐ เมตร ก็จะได้น้ำบาดาลที่เป็นน้ำบริสุทธิ์ใสสะอาด แม้ว่าในบางครั้งจะมีทรายละเอียดจำนวนเล็กน้อยเจือปนอยู่ แต่ก็ไม่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ หลังจากที่ได้ตรวจดูคุณภาพของน้ำแล้ว ไม่พบสารหรือแร่ธาตุที่เป็นพิษต่อร่างกายละลายเจือปนอยู่ก็จัดเป็นน้ำที่ใช้ บริโภคได้